พื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี

ประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษาจังหวัดกาญจนบุรี

29 – 30 พฤศจิกายน 2561

ณ ห้องประชุม 1 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

—————————————————————–

29 พฤศจิกายน 2561

 ผอ.เขตฯ วิทยาเกียรติ เงินดี กล่าวเปิดงาน 9.10 น.

  • หน่วยงานทุกภาคส่วนต้องรับผิดชอบร่วมกัน
  • ความเป็นมา หลักการและเหตุผลที่มาพื้นที่นวัตกรรม
  • พื้นที่นวัตกรรมควรจะมีรูปร่างหน้าตาอย่างไร ให้ตรงกับเจตนารมย์กับการจัดตั้งพื้นที่นวัตกรรม
  • ระดมความคิดเห็น

 ศน.ชาลี

  • บรรยายเรื่องความเป็นมาและส่วนที่เกี่ยวข้อง
  • ดู VDO Clip การปฎิรูปการศึกษาพื้นที่พิเศษ แก้ปัญหาระบบการศึกษาไทยที่ตกต่ำและเหลื่อมล้ำ ข้อดี
  1. โรงเรียนอิสระ ไม่มีข้อผูกมัด
  2. กลไกพัฒนาครู พัฒนาผู้บริหาร
  3. เปลี่ยนผ่านใช้ระบบใหม่ นวัตกรรมหลักสูตร การเรียนการสอน การวัดผล
  • นำเสนอ พ.ร.บ.พื้นที่นวัตกรรมการศึกษา 6 จังหวัดนำร่อง จ.กาญจนบุรีเป็นรุ่นที่ 2
  • ภาคีเครือข่าย

 ผอ.เขตฯ วิทยาเกียรติ เงินดี

  • ร.ร.นำร่องนวัตกรรมขอปลดล็อกในเรื่องใด สามารถเสนอความคิดเห็นได้ ขอใช้งบประมาณเอง หากได้รับอนุญาต จะสามารถดำเนินการได้ เช่น การสอบบรรจุครู

 รองฯ เขต 3 นายศุภชัย มากสมบูรณ์

  • การบริหารจัดการศึกษา โครงการกองทุนการศึกษา คัดเลือก ร.ร. ที่กันดารและห่างไกล เช่น ร.ร.บ้านหินตั้ง สร้างบ้านพักครู การคัดเลือกครูและผู้บริหารด้วยวิธีพิเศษ เริ่มจากคนในท้องที่ บรรจุเอง ให้อำนาจเขต และ ร.ร.
  • การบริหารจัดการงบประมาณ ร.ร.หินตั้ง งบส่วนพระองค์
  • แนวทางการปรับเป็นเขตพื้นที่นวัตกรรม ปรับเปลี่ยนผู้บริหารเขตพื้นที่การศึกษา

 ศน.เขต 3 มัทนา ชาวบ้านกร่าง

  • ดูแล ร.ร.โครงการกองทุนการศึกษา ที่มีนโยบายเหมือนพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา ได้นำนวัตกรรมมาจัดการเรียนการสอน

 ผอ.บุญเลิศ ร.ร.พังตรุฯ

  • ภารกิจคือการยกร่างยุทธศาสตร์เพื่อนำเสนอในวันที่ 26 ธันวาคม 2561
  • ระเบียบปฎิบัติ/ การจัดการเรียนการสอน/ข้อจำกัดการบริหาร
  • ควรเกิดจากโรงเรียนไม่ใช่จากเขตพื้นที่ลงไป
  • นำความต้องการของแต่ละโรงเรียนมากำหนดโครงสร้าง

 ภาคเอกชน ผจก.ร.ร.หมู่บ้านเด็ก

  • การศึกษาทางเลือก การจัดการเรียนการสอนแบบ montessori
  • การสร้างปัญญาให้เด็ก ครู ชุมชน
    • ส่งเสริมการรักการอ่านที่ครูต้องเป็นตัวอย่าง
    • การคิดนอกกรอบ ทำตามนายสั่ง
    • การเข้าถึงสื่อนวัตกรรม ตามความหลากหลายและแตกต่างของ นร. โดยเฉพาะเด็กพิเศษ 30% เด็กมีพัฒนาการช้า แก้ปัญหาชีวิตตัวเองไม่ได้ คิดเองไม่ได้ เกิดปัญหาต่อสังคม

เพิ่มเติม รอบ 2

  • วิธีการเข้าถึงนวัตกรรมของนักเรียน อย่างเท่าเทียมทุกคน มีนวัตกรรมแล้วต้องใช้ให้คุ้มค่า
  • สิ่งที่นักเรียนทำได้ดีคืออะไร จากการประกวดศิลปหัตถกรรมอยู่ที่ใด ต่อยอดอย่างไร
  • สิ่งที่ทำแล้วให้คุณค่าระดับโลก

 ศูนย์การศึกษาพิเศษ

  • เด็กพิเศษต้องการความรู้ ความเข้าใจ ในการจัด นร. เรียนร่วม เรียนรวม

 สพป.กจ.1 ผอ.ธงชัย

  • การจัดการศึกษาควรส่งเสริมเรื่องการท่องเที่ยว ประเทศเพื่อนบ้าน ภาษาสากล พัฒนาคนเมืองกาญจน์ จัดการศึกษาเพื่ออาชีพและการค้า จิตอาสาเด่นชัด พัฒนาบ้านเมืองให้สะอาด พัฒนาคนดีให้บ้านเมือง
  • ปลดล็อกเรื่องหลักสูตรที่เกี่ยวกับเวลาเรียน เรียนให้น้อยกว่า 1000 ชั่วโมง ควรเพิ่มการเรียนรู้เกี่ยวกับภาษา /การคิด คำนวน วิทยาศาสตร์ การดำรงชีวิต วัฒนธรรม ตามจุดเน้นของ รร. ถ้าสามารถปลดล็อกได้ จะสมัครเข้าเป็น รร.แกนนำ
  • เพิ่มอิสระ ลดข้อจำกัด ต้องสอดคล้องกันทั้งจังหวัดกาญจนบุรี

 สพป.กจ.1 ศน.สุรเดช

  • สื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยี นวัตกรรมมาแล้วไป เมื่อนำไปทดลองใช้แล้วจะกลายเป็นเทคนิคหรือวิธีการ
  • 1 โรงเรียน 1 นวัตกรรม ยกตัวอย่าง กองม่องทะโมเดล, ไร่โว่โมเดล
  • ศูนย์รวมสื่อ ให้ รร.นำสื่อเข้ามา สื่อ เทคนิค สิ่งประดิษฐ์ และเลือกสิ่งที่เป็น active learning เอาไปใช้

 ผอ. กศน.

  • ส่งเสริมการอ่านออก เขียนได้
  • เชื่อมโยงทุกภาคส่วน

 รองนายกฯ อบจ.

  • นวัตกรรมที่เกิดขึ้นของจังหวัด โรงเรียนบ้านหนองอำเภอจีน สร้างศูนย์การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เปิดโอกาสให้ รร. ใกล้เคียงไปใช้บริการได้

 ผอ.รร.บ้านเก่าวิทยา

  • นวัตกรรมที่เกิดใน รร. การปรับปรุงโครงสร้างหลักสูตร ในปีการศึกษา 2562 นร.ได้เลือกเรียนตามความถนัด ตอนเช้าเรียน พฐ บ่ายเรียน วิชาชีพ เปิดห้องเรียนพิเศษเตรียมทหาร (นายร้อย จปร), พยาบาล (มหิดล คริสเตียน), กีฬา, ครุศาสตร์, ทวิศึกษา, ทำ MOU กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 หน.ฝ่ายแผนงาน พัฒนาฝีมือแรงงาน

  • แนวโน้มของผู้ประกอบอาชีพในอนาคต
    • ไม่เป็นลูกจ้างในสถานประกอบการ หาแนวทางใหม่ในการประกอบอาชีพในพื้นฐานที่ตนเองมี ไม่เน้นปริญญา เช่น นัก cast เกม, การ upload VDO Youtube,
    • การเป็นลูกจ้าง ผู้ประกอบเน้นทักษะฝีมือเป็นหลัก
    • จัดการเรียนการสอนเน้น เทคโนโลยี

 ศูนย์วิทยาศาสตร์

  • ท้องฟ้าจำลอง
  • แหล่งเรียนรู้

 อาชีวะ

  • เน้นเรื่องวิชาชีพ การให้บริการสัญญาณ internet คิดว่าควรพัฒนาด้าน server การให้ข้อมูล การจ้างงาน เพื่อให้นายจ้างได้คนในพื้นที่ ใส่ข้อมูลได้หลากหลายประเภท เช่น นำเสนอการอบรมวิชาชีพระยะสั้น application การท่องเที่ยว

มหาวิทยาลัยราชภัฎกาญจนบุรี

  • มีความพร้อมด้านวิชาการ วิทยาศาสตร์ (ศูนย์วิทยาศาสตร์) สังคมศาสตร์ (ภาษา) รภ.เพื่อการพัฒนาท้องถิ่น สอดคล้องในเรื่องการอ่านออกเขียนได้ และการพัฒนาทักษะของครู
  • โครงการ STEM พัฒนาการเรียนการสอนของ นร และ ครู
  • พัฒนาทักษะของ นศ.ครูด้านภาษาอังกฤษ
  • สิ่งที่คาดหวัง ในการให้บริการด้านวิชาการ ต้องการให้ เด็กในจังหวัดสามารถอยู่ในพหุวัฒนธรรม ตามทักษะในศตวรรษที่ 21 สอดคล้องส่วนของพื้นที่

 ตชด.

  • การศึกษาของ รร.ตชด. แตกต่างในเรื่องของครู ที่เป็นตำรวจ ต้องมีพี่เลี้ยงเป็นครูใน สำนักงานเขตพื้นที่และ อาจารย์จาก รภ.
  • โครงการพระราชดำริ 8 โครงการ ทั้งการศึกษาและชุมชน ลดความเหลื่อมล้ำด้านการศึกษา ไม่เลือกเชื้อชาติ
  • สิ่งที่เป็นนวัตกรรมของ รร.ตชด. ยังไม่มี

 ศน.สพม.8

  • อยากให้เน้นเป็นจุดยืน ด้านอัตลักษณ์คุณธรรมของจังหวัดกาญจนบุรี สร้างให้เป็นเมืองคุณธรรม
  • สพม.8 คัดเลือกนวัตกรรมของแต่ละโรงเรียน
  • โรงเรียนมีความพร้อมอยู่แล้วทั้งในด้านทวิศึกษา ห้องเรียนกีฬา ห้องเรียนอัจฉริยะ จึงอยากให้เน้นด้านคุณธรรม

 ผอ.กลุ่มนโยบายและแผน สพป.กจ.4  นายธีรศักดิ์

  • ดูวิสัยทัศน์ แผนการศึกษาชาติ เพื่อให้สอดคล้องกับการสร้างนวัตกรรม เช่น เรื่องปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
  • จะประสบความสำเร็จ เมื่อ
    • เชื่อว่าโครงการเป็นไปได้
    • ความร่วมมือของทุกภาคส่วน/
    • มีพลังในการขับเคลื่อน
  • ปัญหาของจังหวัดกาญจนบุรี
    • โรงเรียนขนาดเล็กมีมากกว่า 50% ควรควบรวม รร.ให้อยู่ด้วยกัน แต่ชุมชนไม่ยอม ดังนั้น จึงควรมี โรงเรียนต้นแบบ จัดเต็มทั้งอาคารสถานที่ การจัดการศึกษา ความพร้อมของบุคลากร
    • ควรตั้งคณะกรรมการ กำหนดรูปแบบ วิธีการ การดำเนินงาน เพื่อขับเคลื่อนให้เป็นไปได้

 ศน.ชาลี

  • นวัตกรรมใหม่ เรื่อง โรงเรียนคุณธรรม Kick Off จัดคุณธรรมระหว่าง รร.กับชุมชน ตัวอย่างคือ หนองปรือโมเดล (รร.หนองปรือวิทยาคม รร.หนองสาหร่าย และ รร.บ้านห้วยหวาบ 6 หมู่บ้านใน ต.หนองปรือและ ต.หนองปลาไหล)  มาร่วมกัน  เราจะมีส่วนร่วมกับโรงเรียนอย่างไร ผู้ว่าราชการจังหวัดให้งบประมาณ ให้เวลา 1 ปี ศึกษาเปรียบเทียบกับ รร.อื่นที่อยู่ในตำบลเดียวกัน นำไปสู่การจัดทำวิจัย ได้รับการสนับสนุนจากองค์การท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน

 ศน.ฉลอง

  • สรุปรายการภาคเช้า การแบ่งปันความคิด ภาคบ่ายเป็นการจัดทำ SWOT

 ภาคบ่าย

รร.สมเด็จพระปิยะ

  • จัดการศึกษาให้ นร.ด้อยโอกาส พ่อ-แม่ เลี้ยงเดี่ยว
  • เน้น คณิตศาสตร์-วิทยาศาสตร์
  • โรงเรียนไม่ค่อยได้รับเชิญให้ไปรับรู้เรื่องวิชาการใดๆ มากนัก
  • อยากมีส่วนร่วมกับสังคมมากกว่านี้ เพราะ รร.สังกัด 2 สำนักงานเขต: ป.4-ป.6 สังกัด สพป.กจ.3

ม.1-ม.3 สังกัด สพม.8

 ผอ.สวรัช ราษฎร์บำรุงธรรม สพป.กจ.4

  • รร.พัฒนา ค้นหาศักยภาพตนเอง โดยไม่ต้องพึ่งงบประมาณ
  • จัดการเรียนรู้ที่มีความยืดหยุ่น การจัดระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยการหาภาคี เช่น แรงงานจังหวัด หรือพัฒนาสังคมเพื่อของบประมาณช่วยเหลือนักเรียน
  • การพัฒนาครู Obec training ไม่ได้ผลมากเท่าไร ของบประมาณมาพัฒนาครูเองดีกว่า
  • การขอทำวิทยฐานะ ไปเกี่ยวข้องกับผล o-net ซึ่งไม่น่าจะเกี่ยวข้องกัน
  • มีเครือข่ายจาก รภ.กาญ และ อบจ.
  • พื้นที่นวัตกรรมที่เป็นไปได้คือ ผอ.ร.ร.ต้องทำงานเพื่อ นักเรียนจริงๆ ไม่ใช่เพื่อ o-net หากทุกอย่างทำเพื่อ นร.จริงๆ แล้วผล o-net จะขึ้นเอง
  • ภาพในอนาคต ทำทุกอย่างเพื่อ นร. ลงสู่ชั้นเรียน การจัดชั้นเรียน STEM พหุภาษา พหุวัฒนธรรม พื้นที่สูง จะทำอย่างไรให้มีความสอดคล้องกัน

ผอ.ยลพัฒน์ ผอ.ร.ร.บ้านช่อง ห้วยกระเจา

  • จัดการเรียนการสอน 4 ภาษา ได้แก่ ไทย อังกฤษ จีน พม่า ระดับชั้น อ.1 พัฒนาได้ดีมาก
  • ครูที่อยู่ในพื้นที่ มีคุณสมบัติเหมาะสมมาช่วยสอนภาษา
  • ผอ.เขต ช่วยสนับสนุนให้เปิดเป็น รร. 2 ภาษา

เป้าหมายที่อยากให้เกิดร่วมกัน

 

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

แนวทางการพัฒนาระบบการประกับคุณภาพภายในของสถานศึกษา

ระบบประกันคุณภาพการศึกษาเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาของไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2545 จึงกำหนดให้หน่วยงานต้นสังกัดและสถานศึกษาจัดให้มีระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา และให้ถือว่าการประกันคุณภาพภายในเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการบริหารการศึกษาที่ต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง รวมทั้งกำหนดให้ออกกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีประกันคุณภาพการศึกษา เพื่อให้เกิดการนำไปสู่การปฏิบัติอย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งได้มีการประกาศกฎกระทรวงว่าด้วยระบบ หลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ. 2553 และได้มีการประกาศในราชกิจจานุเบกษาเรียบร้อยแล้ว (เล่ม 127 ตอนที่ 23 ก วันที่ 2 เมษายน พ.ศ.2553)
ในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ได้จัดทำแนวทางการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาขึ้น เพื่อช่วยสนับสนุนและส่งเสริมการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษาให้เข้มแข็งตามแนวคิด หลักการ กฎกระทรวงดังกล่าว ตลอดจนเป็นวิธีการที่ทันสมัยและเหมาะสมกับเหตุการณ์ปัจจุบัน และสามารถดำเนินการตามภารกิจหลักของการประกันคุณภาพได้อย่างชัดเจน เหมาะสม ตลอดจนสามารถสนับสนุน ส่งเสริม นิเทศและร่วมกันพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาให้เข้มแข็งได้ต่อไป โดยจัดอยู่ในแนวทางหลัก 8 ประการ ดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของสถานศึกษา
2. การกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
3. แผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
4. การจัดระบบบริหารและสารสนเทศภายในสถานศึกษา
5. การติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
6. การประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา
7. การจัดทำรายงานประจำปีของสถานศึกษา
8. การพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง

 

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น

เป้าหมายยุทธศาสตร์และตัวบ่งชี้การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง

เป้าหมายยุทธศาสตร์และตัวบ่งชี้การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (พ.ศ.๒๕๕๒-๒๕๖๑)
         เพื่อให้การปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สองบรรลุเป้าหมายตามวัตถุประสงค์ คณะกรรมการปฏิรูปการศึกษาในทศวรรษที่สอง (กนป.)ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน จึงกำหนดเป้าหมายยุทธศาสตร์ ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมาย สำหรับการดำเนินงานตั้งแต่บัดนี้ จนสิ้นสุด พ.ศ.๒๕๖๑ ดังนี้
         เป้าหมายยุทธศาสตร์ข้อ ๑ : คนไทยและการศึกษาไทยมีคุณภาพและได้มาตรฐานระดับสากล
         ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมาย
         ๑.๑ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในวิชาหลักจากการทดสอบระดับชาติ มีคะแนนเฉลี่ยมากกว่า
                ร้อยละ ๕๐
         ๑.๒ ผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาด้านคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์เพิ่มขึ้นเป็นไม่ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย
                 นานาชาติ (ผลทดสอบ PISA) 
         ๑.๓ ความสามารถด้านภาษาอังกฤษเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓ ต่อปี
         ๑.๔ ทักษะด้านเทคโนโลยีสารสนเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ ๓ ต่อปี
         ๑.๕ สัดส่วนผู้เรียนมัธยมศึกษาตอนปลายประเภทอาชีวศึกษา : สามัญศึกษา เป็น ๖๐:๔๐
         ๑.๖ ผู้สำเร็จอาชีวศึกษาและอุดมศึกษามีคุณภาพระดับสากลและเป็นไปตามกรอบ
                 มาตรฐานคุณวุฒิ
         ๑.๗ จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยของคนไทย(อายุ ๑๕-๕๙) เพิ่มขึ้นเป็น ๑๒ ปี
         เป้าหมายยุทธศาสตร์ข้อ ๒ คนไทยใฝ่รู้ : สามารถเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง รักการอ่านและแสวงหา 
                                                                          ความรู้อย่างต่อเนื่อง
         ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมาย
         ๒.๑ ผู้เรียนทุกระดับการศึกษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๕ มีทักษะในการแสวงหาความรู้ได้ด้วย
                 ตนเองรักการเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง
         ๒.๒ อัตราการรู้หนังสือของประชากร(อายุ ๑๕-๖๐ ปี)เป็นร้อยละ ๑๐๐
         ๒.๓ ผู้เข้ารับบริการในแหล่งเรียนรู้เพิ่มขึ้นปีละอย่างน้อยร้อยละ ๑๐
         ๒.๔ คนไทยใช้เวลาอ่านหนังสือนอกเวลาเรียน/นอกเวลาทำงาน โดยเฉลี่ยอย่างน้อยวันละ
                 ๖๐ นาที
         ๒.๕ สัดส่วนผู้ที่ใช้อินเทอร์เน็ตเพื่อการเรียนรู้ต่อประชากรอายุ ๖ ปีขึ้นไป เป็นร้อยละ ๕๐
         เป้าหมายยุทธศาสตร์ข้อ ๓ คนไทยใฝ่ดี : มีคุณธรรมพื้นฐาน มีจิตสำนึกและค่านิยมที่พึง
                                                                           ประสงค์ เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม มีจิตสาธารณะ
                                                                           มีวัฒนธรรมประชาธิปไตย
         ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมาย
         ๓.๑ ผู้เรียนทุกระดับการศึกษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๕ มีคุณธรรม จริยธรรม และมีความเป็น
                 พลเมือง
         ๓.๒ จำนวนคดีเด็กและเยาวชนที่ถูกดำเนินคดีโดยสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน
                 ลดลงร้อยละ ๑๐ ต่อปี
         ๓.๓ จำนวนเด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปีที่ตั้งครรภ์ ลดลงร้อยละ ๑๐ ต่อปี
         ๓.๔ จำนวนเด็กและเยาวชนเข้ารับการบำบัดยาเสพติดลดลงร้อยละ ๑๐ ต่อปี
         ๓.๕ สัดส่วนคนไทยที่ประกอบกิจกรรมทางศาสนา และกิจกรรมที่เป็นประโยชน์ต่อผู้อื่นและ
                 สังคมอย่างสม่ำเสมอ เพิ่มขึ้นร้อยละ ๕ ต่อปี
         เป้าหมายยุทธศาสตร์ข้อ ๔ คนไทยคิดเป็น ทำเป็น แก้ปัญหาได้ : มีทักษะในการคิดและปฏิบัติ 
                                                                                       มีความสามารถในการแก้ปัญหา มีความคิด
                                                                                       ริเริ่มสร้างสรรค์ มีความสามารถในการสื่อสาร
         ตัวบ่งชี้และค่าเป้าหมาย
         ๔.๑ ผู้เรียนทุกระดับการศึกษาไม่ต่ำกว่าร้อยละ ๗๕ มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์ 
                 สังเคราะห์ มีวิจารณญาณ มีความคิดสร้างสรรค์
         ๔.๒ ผู้สำเร็จการอาชีวศึกษาและการอุดมศึกษา มีสมรรถนะเป็นที่พึงพอใจของผู้ใช้และมีงานทำ
                 ภายใน ๑ ปี รวมทั้งประกอบอาชีพอิสระเพิ่มขึ้น
         ๔.๓ กำลังแรงงานที่มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษาขึ้นไป เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ ๖๕ และมีสมรรถนะ
                 ทางวิชาชีพตามมาตรฐาน

โพสท์ใน Uncategorized | ใส่ความเห็น